top of page

นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับกล้องวงจรปิด (CCTV)

ด้วยพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 บริษัท สทรอง โซลูชั่นส์ จำกัด (“บริษัท”) ตระหนักและให้ความสำคัญกับข้อมูลส่วนบุคคลและความเป็นส่วนตัวของเจ้าของข้อมูล บริษัทจึงมีนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับพนักงาน ผู้มาติดต่อ และบุคคลใดๆ ที่เข้ามาในบริเวณพื้นที่ของบริษัท รวมถึงผู้ที่อยู่ภายใต้การบันทึกข้อมูลภาพผ่านระบบกล้องวงจรปิด (CCTV) ของบริษัท (“ผู้ที่เกี่ยวข้อง”) เพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ดังนี้

1. ข้อมูลส่วนบุคคลที่บริษัทจัดเก็บโดยกล้องวงจรปิด (CCTV)

ข้อมูลส่วนบุคคลหมายถึงข้อมูลที่สามารถระบุตัวตนได้ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม โดยบริษัทจะจัดเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลเฉพาะที่จำเป็นและถูกต้องตามความเป็นจริง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้สำหรับการควบคุม ดูแล และรักษาความปลอดภัยภายในบริเวณสถานประกอบการของบริษัท ซึ่งข้อมูลส่วนบุคคลที่บริษัทจัดเก็บได้แก่ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหวของบุคคล ยานพาหนะ เลขทะเบียนรถ รวมถึงทรัพย์สินทุกอย่างที่สามารถระบุตัวตนได้ โดยบริษัทได้ติดตั้งกล้องวงจรปิด (CCTV) ในจุดสำคัญภายในพื้นที่ของบริษัท ซึ่งจะบันทึกภาพทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง

2. ฐานตามกฎหมายที่บริษัทใช้ในการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล

บริษัทอาจเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลโดยอาศัยฐานอื่นตามกฎหมาย ดังนี้

2.1 เป็นการใช้ข้อมูลเพื่อกิจการสื่อมวลชน งานศิลปกรรม วรรณกรรม ซึ่งเป็นไปตามจริยธรรมแห่งการประกอบวิชาชีพ หรือเพื่อประโยชน์สาธารณะ

2.2 เป็นการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลเพื่อการดำเนินการของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมาย หรือการพิจารณาคดีของศาล

2.3 เพื่อประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมายของบริษัทหรือบุคคลหรือนิติบุคคลอื่น

2.4 เป็นการปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น พระราชบัญญัติประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ประมวลกฎหมายแพ่งและอาญา ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งและอาญา เป็นต้น

2.5 เป็นการจำเป็นเพื่อป้องกันหรือระงับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย และสุขภาพของบุคคล

2.6 เป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามที่รัฐได้มอบหมายหรือเพื่อประโยชน์สาธารณะ

2.7 เป็นการเก็บข้อมูลเพื่อจัดทำเอกสารประวัติศาสตร์ หรือจดหมายเหตุเพื่อประโยชน์สาธารณะ หรือเพื่อการศึกษาวิจัยเก็บสถิติโดยมีมาตรฐานการป้องกันข้อมูลตามกฎหมาย

2.8 เป็นการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลตามเหตุอื่นใดที่พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ให้อำนาจบริษัทสามารถกระทำได้โดยไม่ต้องขอความยินยอมก่อน

3. วัตถุประสงค์ในการเก็บรวบรวมและการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล

บริษัทอาจเก็บรวบรวม ใช้ ประมวลผล โอน หรือเปิดเผยข้อมูลเพื่อวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้

3.1 เพื่อปกป้องชีวิต ร่างกาย ทรัพย์สิน ความปลอดภัยของพนักงานบริษัทฯ และผู้ที่เกี่ยวข้อง

3.2 เพื่อควบคุมการเข้ามาภายในพื้นที่บริษัทและรักษาความปลอดภัยของผู้เกี่ยวข้องที่เข้ามาในบริเวณพื้นที่ของบริษัท ให้สามารถปกป้องและระงับภยันตรายหรืออาชญากรรมที่อาจเกิดขึ้น

3.3 เพื่อตรวจสอบและติดตามตัวบุคคล ซึ่งอาจก่อให้เกิดภยันตราย ความเสียหายหรือกระทบถึงความปลอดภัยของทรัพย์สินและพนักงานของบริษัท

3.4 เพื่อใช้ในการพิจารณาลงโทษทางวินัยของพนักงานบริษัท หรือเป็นหลักฐานในคดีแรงงาน

3.5 เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการดำเนินการทางคดีทั้งทางแพ่งและอาญา

3.6 ใช้สำหรับตรวจสอบข้อมูลผู้เกี่ยวข้องที่เข้ามาติดต่อภายในบริเวณพื้นที่ของบริษัท

3.7 ใช้สำหรับติดต่อประสานงานเพื่อดำเนินการต่างๆ

3.8 เพื่อการปฏิบัติตามกฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง

4. ระยะเวลาการเก็บรวบรวมข้อมูล

บริษัทจะจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลไว้ตามระยะเวลาเท่าที่บริษัทจำเป็นต้องใช้ข้อมูลในการดำเนินการและจะทำลายข้อมูลภายใน 6 เดือน นับแต่วันที่บันทึกภาพ หรือบริษัทอาจเก็บข้อมูลไว้นานกว่ากำหนด ในกรณีที่จำเป็นต้องใช้ในการดำเนินการตามกฎหมาย หรือดำเนินการตามข้อเรียกร้องของบุคคลภายนอกซึ่งมีส่วนได้ส่วนเสีย หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมาย หรือมีกฎหมายกำหนดให้เก็บรักษาไว้

5. สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล

เจ้าของข้อมูลมีสิทธิในข้อมูลส่วนบุคคลที่ได้ให้ไว้กับบริษัท โดยสามารถร้องขอให้บริษัทดำเนินการตามสิทธิได้ดังต่อไปนี้

5.1 มีสิทธิขอเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลที่บริษัทฯ จัดเก็บไว้และขอสำเนาข้อมูลส่วนบุคคลนั้น หรือขอให้บริษัทฯ เปิดเผยแหล่งที่มาของข้อมูลส่วนบุคคลได้ โดยบริษัทฯ จะดำเนินการภายใน 30 วัน นับแต่ได้รับคำขอจากผู้ร้องตามระเบียบของบริษัท เว้นแต่เป็นกรณีที่บริษัทฯ จำเป็นต้องปฏิบัติตามกฎหมายหรือคำสั่งศาล

5.2 มีสิทธิขอรับหรือให้ส่งข้อมูลที่สามารถอ่าน ใช้งานหรือเปิดเผยได้ด้วยวิธีการอัตโนมัติไปยังหน่วยงานหรือบุคคลอื่น

5.3 มีสิทธิคัดค้านการเก็บ ใช้ เปิดเผย ข้อมูลส่วนบุคคลในกรณีที่บริษัทสามารถเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลได้โดยไม่ต้องขอความยินยอม เว้นแต่บริษัทสามารถแสดงให้เห็นถึงเหตุอันชอบธรรมตามกฎหมาย

5.4 มีสิทธิขอให้บริษัทลบ ทำลายหรือระงับการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลที่บริษัทเก็บรักษาไว้ หรือให้บริษัทดำเนินการทำให้ข้อมูลดังกล่าวไม่สามารถระบุตัวตนได้ เว้นแต่เป็นกรณีที่บริษัทเก็บรักษาข้อมูลไว้เพื่อวัตถุประสงค์ในการใช้เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น หรือบริษัทมีสิทธิในการเก็บรักษาตามที่พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 กำหนดไว้

5.5 มีสิทธิยื่นเรื่องร้องเรียนต่อคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญในกรณีที่เกิดความเสียหายต่อข้อมูลส่วนบุคคล

บริษัทฯ จะดำเนินการตามที่ได้รับแจ้งจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล ผู้รับมอบอำนาจ ผู้แทนโดยชอบธรรม หรือผู้มีสิทธิอันชอบด้วยกฎหมาย (“ผู้ร้องขอ”) โดยบริษัทจะพิจารณาตรวจสอบข้อเท็จจริงทั้งหมดตามกระบวนการรับเรื่องของบริษัท ทั้งนี้หากมีค่าใช้จ่าย บริษัทจะแจ้งให้ผู้ร้องขอทราบก่อนดำเนินการ

ในกรณีที่ไม่สามารถดำเนินการตามที่ผู้ร้องขอได้ บริษัทจะดำเนินการแจ้งเหตุผลให้ผู้ร้องขอได้รับทราบ โดยผู้ร้องขอสามารถคัดค้านหรือโต้แย้งได้ โดยบริษัทจะบันทึกคำโต้แย้งหรือคัดค้านไว้เป็นหลักฐาน

6. บุคคลหรือหน่วยงานที่ข้อมูลอาจถูกส่งไปจัดเก็บหรือเปิดเผย

บริษัทอาจมีการนำข้อมูลส่วนบุคคลไปเก็บรักษาหรือเปิดเผยให้กับบุคคลหรือนิติบุคคลดังต่อไปนี้

6.1 หน่วยงานราชการ หรือหน่วยงานกำกับดูแล หน่วยงานบังคับใช้กฎหมายหรือศาลที่มีอำนาจตามกฎหมายในการขอข้อมูล

6.2 ผู้ให้บริการทางเทคนิค หรือผู้ดำเนินการที่ให้บริการเกี่ยวกับระบบหรือสาธารณูปโภค หรือบริษัทที่เกี่ยวข้องในการให้บริการให้กับบริษัท

6.3 บุคคลหรือนิติบุคคลภายนอกที่มีความจำเป็นในการดำเนินงานของบริษัท

ช่องทางการติดต่อ การจัดการกับเรื่องร้องเรียน หรือข้อสงสัยเกี่ยวกับนโยบาย CCTV

ในกรณีมีคำถาม สามารถติดต่อสอบถามได้ที่

เจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Data Protection Officer: DPO)    

สถานที่ติดต่อ :   บริษัท สทรอง โซลูชั่นส์ จำกัด

521,523 ถนนรัตนาธิเบศร์ ตำบลบางกระสอ

อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี 11000

หมายเลขโทรศัพท์ : 02-111-2131

ช่องทางการติดต่อ :  DPOoffice@strong-st.co.th

bottom of page